...จำเป็นไหมที่คนจะชอบสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด หรือถนัดสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ บางคนค้นพบตั้งแต่เด็ก นับว่าคนๆ นั้นโชคดีไป แต่บางคนต้องใช้เวลาเกือบทั้งชีวิต “ตามหาชั่วชีวิต” เป็นงานของนักเขียนสตรีท่านหนึ่งที่ทิ้งการเขียนหนังสือไปเกือบ 5 ปี “เสาวรี” ใช้เวลานั้นหมดไปกับการทำงานที่ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ มีความสุขและชื่นชมกับรายได้ที่ได้รับจนสูญเสียซึ่งพลังในการเขียนหนังสือ จวบจนได้รับกำลังใจและการเยียวยาจากคนรอบข้างให้กลับมาเขียนหนังสืออีกครั้ง ในบรรดาหนังสือที่ได้เข้ารอบ 9 เล่มมีผลงานของนักเขียนสตรีอยู่ 2 เรื่อง คือ “ตามหาชั่วชีวิต” กับ “ปรารถนาแห่งแสงจันทร์” ทั้งสองเล่มเป็นผลงานที่โดดเด่นทางด้านการใช้ภาษา แม้ว่าเค้าโครงเรื่องหรือรูปแบบอาจจะไม่มีความแปลกใหม่และทันสมัยเท่ากับงานเขียนชิ้นอื่นๆ แต่ทั้งสองเล่มมีวรรณศิลป์ในการเรียงร้อยถ้อยคำได้อย่างน่าอ่าน แต่ว่ามุมมองแต่ละเรื่องของ “เสาวรี” นั้นค่อนไปทาง Feminist เล่าเรื่องราวของเพศหญิงที่ถูกกระทำโดยฝ่ายชายและตัวละครชายแทบทุกตัวมักจะไม่สมประกอบไม่ทางกายก็ทางจิตใจ ผู้เขียนคงอยากจะสะท้อนความจริงด้านมืดของอัตลักษณ์ทางเพศเท่านั้น ในสายตาของผม “ตามหาชั่วชีวิต” จึงเป็นงานเขียนของผู้หญิงเพื่อผู้หญิง...
... “สังข์ทอง” เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของหนังสือเล่มนี้ที่เล่าถึงพระสังข์ยุคโลกาภิวัฒณ์ที่แปลงร่างโดยการศัลยกรรม วัยรุ่นสมัยนี้ยึดติดกับความงามทางกายที่ฉาบฉวย ดูจากพฤติกรรมการประกวดร้องเพลงในสมัยนี้ที่มาตรฐานในการตัดสินใจจากคนกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่าการ Vote รักใครชอบใครก็ให้คะแนนไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือจำนวนคนที่ถูก Vote ส่วนใหญ่แล้วคนที่ชนะมักจะมีรูปลักษณ์ที่เข้าตาคนส่วนใหญ่ แม้น้ำเสียงจะสู้คนที่แพ้ไม่ได้ก็ตาม แต่สังข์ทองไม่เคยได้โอกาสนั้นเพราะรูปกายที่อัปลักษณ์เหมือนกับตัวตลกชื่อเดียวกัน แม้เขาจะมีเสียงที่ดีหรือทรงพลังแค่ไหน ผู้คนก็ไม่เคยให้โอกาสจนกระทั่งเขาต้องศัลยกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูดี สังข์ทองกับคนในสังคมก็ไม่แตกต่างกันทุกคนยังยึดติดกับรูปภายนอกจนลืมสิ่งงามภายใน จุดจบคือโศกนาฏกรรมของคนกลับไม่ได้ไปไม่ถึง “ตามหาชั่วชีวิต” คืออีกหนึ่งเรื่องสั้นในหนังสือชื่อเดียวกัน เรื่องราวที่ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเรื่อง “สิทธารถะ” ของ Hermann Hesse สิ่งสูงสุดที่คนกำลังแสวงหามันอยู่ไม่ไกลตัวเรา ยิ่งแสวงหาสิ่งที่ค้นหายิ่งไกลออกไป สุดท้ายแล้วการเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันแล้วปล่อยวางนั้นคือสัจธรรมที่ผมได้หลังจากอ่านจบ...
... “สังข์ทอง” เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของหนังสือเล่มนี้ที่เล่าถึงพระสังข์ยุคโลกาภิวัฒณ์ที่แปลงร่างโดยการศัลยกรรม วัยรุ่นสมัยนี้ยึดติดกับความงามทางกายที่ฉาบฉวย ดูจากพฤติกรรมการประกวดร้องเพลงในสมัยนี้ที่มาตรฐานในการตัดสินใจจากคนกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่าการ Vote รักใครชอบใครก็ให้คะแนนไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือจำนวนคนที่ถูก Vote ส่วนใหญ่แล้วคนที่ชนะมักจะมีรูปลักษณ์ที่เข้าตาคนส่วนใหญ่ แม้น้ำเสียงจะสู้คนที่แพ้ไม่ได้ก็ตาม แต่สังข์ทองไม่เคยได้โอกาสนั้นเพราะรูปกายที่อัปลักษณ์เหมือนกับตัวตลกชื่อเดียวกัน แม้เขาจะมีเสียงที่ดีหรือทรงพลังแค่ไหน ผู้คนก็ไม่เคยให้โอกาสจนกระทั่งเขาต้องศัลยกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูดี สังข์ทองกับคนในสังคมก็ไม่แตกต่างกันทุกคนยังยึดติดกับรูปภายนอกจนลืมสิ่งงามภายใน จุดจบคือโศกนาฏกรรมของคนกลับไม่ได้ไปไม่ถึง “ตามหาชั่วชีวิต” คืออีกหนึ่งเรื่องสั้นในหนังสือชื่อเดียวกัน เรื่องราวที่ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเรื่อง “สิทธารถะ” ของ Hermann Hesse สิ่งสูงสุดที่คนกำลังแสวงหามันอยู่ไม่ไกลตัวเรา ยิ่งแสวงหาสิ่งที่ค้นหายิ่งไกลออกไป สุดท้ายแล้วการเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันแล้วปล่อยวางนั้นคือสัจธรรมที่ผมได้หลังจากอ่านจบ...
...อีกสองเรื่องที่อยากแนะนำคือ “ภาพเขียนมรณะ” และ “นักเขียน” เรื่อง “ภาพเขียนมรณะ” ถ่ายทอดเรื่องราวของครอบครัวที่มีผู้ชายเป็นกำหนด พ่อผู้เป็นอัจฉริยะด้านการวาดภาพ ศิลปินผู้ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งพุทธะที่ตัวเองไม่เคยเข้าถึง ภาพเขียนที่สร้างรอยรักร้าวให้กับผู้เป็นแม่ที่อยู่ในโอวาสของเขาตลอดมา ภาพที่เขียนท่ามกลางราคะตัณหาและความเกลียดชังของแม่และลูกสาว แต่เขากลับหลงใหลรักไคร่จนสามารถเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องมัน “นักเขียน” เป็นเรื่องราวของหนุ่มน้อยคนหนึ่งที่ฝันอยากจะเป็นนักเขียนเพราะได้แรงบันดาลใจจากนักเขียนข้างห้องที่พักในหอพักเดียวกัน เขาได้พบว่างานเขียนกับนักเขียนสิ่งไหนกันที่เขาจะต้องศรัทธา นักเขียนอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่ใครๆวาดไว้ แต่สิ่งที่คนควรศรัทธาคือหนังสือหรืองานเขียนเพราะนั้นคือสิ่งที่เขาถ่ายทอด ศิลปินไม่ว่าจะแขนงไหนทั้งนักเขียนหรือนักวาดในเรื่อง “ภาพเขียนมรณะ” ใช่ว่าจะเข้าถึงสิ่งที่ตัวเองถ่ายทอด พวกเขาทำได้เพียงถ่ายทอดออกมาให้คนตีความเท่านั้น...
...รวมเรื่องสั้น “ตามหาชั่วชีวิต” เป็นมุมมองที่ผู้หญิงบอกความรู้สึกที่มีต่อเพศชายอย่างที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น จนบางครั้งผมเผลอคิดว่าผู้เขียนจงเกลียดจงชังผู้ชาย หรือมีอดีตอะไรบางอย่างหรือเปล่า แต่ผมก็อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ เพราะผมเชื่อในความเป็นคน ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้เท่าๆกัน ความแตกต่างกันระหว่างเพศนั้นผมถือว่าเป็นความได้เปรียบของแต่ละเพศขอเพียงแค่ใช้ความได้เปรียบเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์โดยไม่เบียดเบียนกันและกัน หรืออีกนัยยะหนึ่งสิ่งที่ผู้เขียนกำลังบอกคือเธอกำลังตามหาใครสักคนอยู่หรือเปล่า...
- อั๋นน้อย -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น